การบัญชีแบบลีนเป็นการทำบัญชีตามหลักแนวคิดของลีน ซึ่งเป็นส่วนของบัญชีต้นทุน ถ้าดูแล้วการบัญชีลักษณะดังกล่าวเป็นการทำบัญชีที่มีมาแต่ก่อน แต่มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับแนวคิดของลีน โดยหลักการพัฒนาจะพัฒนาตามหลักแนวคิดของลีน ผมมีความตั้งใจที่จะทำบทความชิ้นหนึ่งที่เกี่ยวกับ การบัญชีแบบลีน (แต่ยังไม่รู้ว่าจะทำได้ดีแค่ไหน) ที่ต้องการลองทำเนื่องจากเมื่อประมาณ ๒ ปีที่ผ่านมาได้ซื้อหนังสือเกี่ยวกับบริษัทโตโยต้าชื่อ TOYOTA WAY มาอ่านเพราะผมอ่านหนังสือเกี่ยวกับการจัดการของโตโยต้ามาตลอดกว่าสิบปี เท่าที่จะหาได้ แต่ความที่หนังสือหนา และคนเขียนเป็นฝรั่ง ก็เลยอ่านช้ามาก พออ่านไปได้สักพักก็เริ่มกลัวครับกังวลว่า วิธีคิดการบริหารจัดการการผลิตมันเปลี่ยนไปมากถ้าไม่ศึกษาไว้บ้างความรู้อาจไม่ทัน แนวคิดแบบลีน เป็นความเชื่อของผมว่าความรู้จะต้องมีความเชื่อมโยงกันอย่างไม่สิ้นสุด และการเชื่อมโยงจะเกิดสิ่งที่เป็นความคิดใหม่มาเรื่อยๆแต่ละส่วนเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน และจะผสมผสาน ความรู้ที่มีอยู่ให้เกิดความรู้ใหม่ จึงกลัวว่าวิธีคิดของเราจะไม่ทันเขา จึงค่อยๆหาหนังสือเกี่ยวกับเรื่องลีนอ่าน ( ภาษาไทยครับ ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง) เท่าที่จะหาได้ เนื่องจากระบบการบริหารการผลิต มีการเปลี่ยนแนวคิดพอสมควรจากภาวะการแข่งขันทางธุรกิจ การผลิตโดยคิดว่าการผลิต LOT ใหญ่ๆจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าโดยอาศัยผลิตจำนวนมาก (ECONOMY OF SCALE) อาจจะเป็นคำตอบที่ไม่ค่อยถูกต้องเสมอไปในอนาคต เดิมเรามีเคยความเชื่อว่า ของดีราคาถูกไม่มีในโลก ความเป็นจริงอาจเป็นเช่นนั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าของดีจะต้องราคาแพงเสมอไป เพราะรูปแบบของธุรกิจและสินค้าในอนาคตจะต้องเปลี่ยนไป เป็น ของดีราคาเหมาะสม (ไม่อยากใช้คำว่า ถูก) การบริหารจัดการจึงเป็นสิ่งที่ชี้ชะตาบริษัทในอนาคตว่า จะยืนอยู่ได้ในภาวะการแข่งขันที่รุนแรงหรือไม่ ทั้งทางด้านการจัดการการผลิตและประสิทธิภาพของคนในชาติหรือองค์กร
เช่นเดียวกันกับงานที่เกี่ยวข้องกับบัญชี หากระบบการจัดการและการผลิตเปลี่ยนไป เราคงยังจะใช้ต้นทุนมาตรฐานหรือการคิดความแตกต่าง ระหว่างต้นทุนเกิดขึ้นจริงกับต้นทุนมาตรฐานเหมือนที่เคยทำกันมาเป็นสิบๆปีหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นการทำบัญชีทั้งส่วนที่เป็นบัญชีบริหาร โดยเฉพาะบัญชีต้นทุนจะยังคงเหมาะสมกับบริษัทที่มีการเปลี่ยนวิธีการทำงานหรือไม่ รายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นโดยฝ่ายบัญชี จะสะท้อนสภาพความเป็นจริงในการทำงานของบริษัทได้อย่างไร ประมาณปีกว่าที่ผ่านมาได้ซื้อหนังสือมาเล่มหนึ่งและพยายามนั่งอ่านนั่งแปลแต่ยังไม่จบ ชื่อว่า Practical Lean Accounting จนปัจจุบันก็ยังอ่านไม่จบแต่จะพยายามจับหลักทำความเข้าใจเนื่องจากพอมีพื้นฐานด้านบัญชีต้นทุน ลักษณะคล้ายกัน เพราะเคยทำงานอยู่ในบริษัทญิ่ปุ่นที่ SUPPLY ของให้กับบริษัทโตโยต้าและจำเป็นต้องวางระบบบัญชีการเงินและบัญชีต้นทุนให้สอดคล้องกับบ.แม่ ที่ญิ่ปุ่น แต่ก็ยังไกลจากแนวคิดการบัญชีแบบลีนพอควร แต่ก็พอช่วยให้ทำความเข้าใจได้ไม่ยาก
อย่างไรก็ตามการที่จะเขียนบทความการบัญชีแบบลีน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นของที่ค่อนข้างใหม่ แต่ในการบริหารงานโรงงานเริ่มมีการนำมาใช้แพร่หลายขึ้นเรื่อยๆ อาจจะต้องมีการทำความเข้าใจเรื่องแนวคิดแบบลีนบ้าง จึงเขียนบทความสรุปเรื่อง แนวคิดแบบลีน ไว้ ถ้าเป็นคนที่ทำงานอยู่ในสายการผลิตอาจไม่ค่อยมีประโยชน์นัก แต่สำหรับนักบัญชีคงเป็นการปูพื้นความคิดบ้างตามสมควร อาจจะประมาณ ๓-๔ ตอน หรืออาจมากกว่านั้นบ้าง เพื่อเข้าใจในภายหน้าว่าทำไมต้องมีการคิดต้นทุนที่ผิดไปจากการทำต้นทุนที่ผ่านมา หากใครที่อ่านและมีความรู้ด้านนี้จะแบ่งให้เป็นวิทยาทานหรือต้องการแลกเปลี่ยนความเห็นก็จะถือ เป็นพระคุณอย่างสูง
ระบบการผลิตแบบลีน (LEAN PRODUCTION)
ในคำนำครั้งแรกของหนังสือ Lean Thinking ได้กล่าวว่า " ในปี 1990 มีหนังสือออกใหม่ คือ หนังสือ The Machine That Changed the World มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งข้อความไปยังองค์กร ผู้จัดการ พนักงาน และเหล่านักลงทุนทั้งหลายที่ยังคงติดอยู่ในโลกของการผลิตแบบครั้งละมากๆ(Mass Production) ซึ่งเป็นการผลิตที่ล้าสมัย ในหนังสือ คำว่า Machine แสดงให้เห็นข้อมูลจำนวนมากที่ใช้ในการเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) เพื่อแสดงให้เห็นถึงวิธีการจัดการระบบและการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relation) โซ่อุปทาน (Supply Chain) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และดำเนินการผลิตที่ดีกว่า ซึ่งเป็นวิธีที่บุกเบิกโดยบริษัทโตโยต้าภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เราตีตราแนวทางแบบใหม่นี้ว่าเป็น "การผลิตแบบลีน" (Lean Production) เพราะเป็นการทำให้ได้มากขึ้น ด้วยทรัพยากรที่น้อยลง"
แนวคิดแบบลีนจะเป็นการผลิตที่มุ่งเน้นการลื่นไหลของงานเป็นหลัก และกำจัดความสูญเสีย ใช้คนงานเป็นหลักไม่ใช้ระบบบังคับ แต่เนื่องจากการผลิตแบบลีนที่ได้บัญญัติขึ้น เป็นการนำเอาระบบการผลิตของโตโยต้ามาเป็นหลัก ฉะนั้นเราควรรู้ว่าระบบการผลิตของโตโยต้าบ้างว่าเป็นอย่างไร
หลักการผลิตแบบโตโยต้า
๑.เกิดจากการทดลองผิดลองถูก (Try and Error) ในการแก้ปัญหา ฉะนั้น ผู้บริหารที่จะใช้แนวคิดแบบนี้ต้องใจกว้าง พนักงานต้องมีความรับผิดชอบสูง แต่ทั้งสองฝ่ายต้องมีหัวใจที่กระตือรือร้น และหัวสมองที่ไม่หยุดนิ่ง
๒.วัตถุประสงค์หลักของการทำงานคือการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
๓.ยกเลิกหรือกำจัดการทำงานที่ไม่จำเป็นที่ทำกันอยู่ในโรงงาน
๔.เน้นการไหลของงานเป็นหลัก
๕.ใช้การผลิตแบบ JIT (Just in Time) ผลิตในปริมาณและเวลาที่จำเป็น ทำให้ลดสินค้าคงเหลือและค่าแรงงานคือ ต้นทุนทั้งสองจะถูกกำจัดไปโดยธรรมชาติ
๖.วัตถุประสงค์รองที่ได้คือ การควบคุมคุณภาพ , การประกันคุณภาพ , และการเคารพในความเป็นมนุษย์ เนื่องจากแนวคิดแบบลีนจะใช้คนเป็นหลักในการผลิต
แนวคิดหลัก
- ใช้ JIT
- หยุดการผลิตทันทีที่พบของเสีย
- ปรับจำนวนคนงานให้สอดคล้องกับการผลิต
- ใช้คำแนะนำและข้อเสนอแนะของพนักงานเป็นหลัก
ระบบงานที่โตโยต้าใช้ในแนวคิดแบบลีน
ระบบคัมบัง
ทำให้กระบวนการผลิตสม่ำเสมอ โดยปรับให้เรียบเสมอ (ทำให้งาน FLAT)
ลดเวลาการเตรียมเครื่อง
กำหนดมาตรฐานการทำงานให้ชัดเจน
เน้นให้คนหนึ่งทำงานได้หลายหน้าที่
ระบบการควบคุมโดยการมองเห็น
มีการจัดการข้ามสายงานได้
หยุดการผลิตทันทีที่มีปัญหา
ใช้ แนวคิด JIT
แนวคิด KAIZEN (การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง)
บทความที่เกี่ยวข้อง
Lean Accounting 1
Lean Accounting 2
Lean Accounting 3
Lean Accounting 4
Lean Accounting 5
Lean Accounting 6
Lean Accounting 1
LEAN ACCOUNTING (การบัญชีแบบลีน)
ขอฝากประชาสัมพันธ์นะค่ะ♥
ศูนย์อบรมให้บริการด้านการอบรมพนักงาน และที่ปรึกษา www.bizinthai.com
ติดตามได้ที่ www.facebook.com/LeanBIZ
อาจารย์เพิ่งบรรยายไปเมื่อ 1 - Apr - 2008 รู้สึกว่าจะเป็น อี.ไอ.สแควร์ (ที่ทำหนังสือวิถีแห่งโตโยต้า) เป็นผู้จัด