สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปชป. หัก ภท. สัมปทานเอกชนวิ่งเมล์ 4 พันคัน

จาก โพสต์ทูเดย์

เปิดความเห็น สภาที่ปรึกษาฯ เสนอ ครม. ให้สัมปทานรถเมล์ 4 พันคันแก่ภาคเอกชน ส่วน ขสมก.ตั้งตนเป็นเล็กกูเรเตอร์แทน 

นับเป็นโครงการมหากาพย์แห่งการยืดเยื้อยาวนานที่ไม่ได้ข้อสรุปเสียที นับแต่พรรคภูมิใจไทยเสนอ โครงการเช่ารถโดยสารปรับอากาศใช้ก๊าซธรรมชาติ 4 พันคันใ ห้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณา แต่ทางนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชะลอโครงการนี้ไปหลายครั้ง ครั้งล่าสุดได้มอบหมายให้นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ ไปดำเนินการศึกษาให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน

ความคืบหน้าล่าสุดครบกำหนดเวลา นายไตรรงค์ เตรียมนำข้อเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ (สป.)ที่เสนอให้ ครม.ในวันอังคารที่ 19 ต.ค.นี้ พิจารณาสำหรับสาระสำคัญ คือ ทางองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)ควรให้สัมปทานโครงการรถเมล์ 4 พันคันแก่ภาคเอกชนดำเนินการ โดยทาง ขสมก.ทำหน้าที่บริหารสัญญา (Regulator) กำกับและบริหารสัญญาเดินรถให้เป็นไปตามสัญญาการให้บริการเชิงคุณภาพ โดยกำหนดมาตรฐานและเงื่อนไขขั้นต่ำที่เหมาะสมในการให้บริการเป็นมาตรฐาน เดียวกันเพื่อให้ผู้ประกอบการทุกรายต้องถือปฏิบัติ สำหรับรายละเอียดมีดังนี้ 

แม้ว่ารัฐบาลจะได้มีมาตรการต่างๆในการปรับปรุงการบริหารจัดการและการ บริการระบบขนส่งมวลชน มาโดยตลอด แต่เพื่อให้การบริหารจัดการและบริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพของ ขสมก.มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ไม่ก่อหนี้สินใหม่ มีสภาพการเงินที่อยู่ได้ด้วยตนเองและลดภาระหนี้สินเดิม

ทั้งนี้ต้องไม่ก่อความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั้งในด้านราคาและมาตรฐาน คุณภาพ รวมทั้งไม่เป็นภาระด้านงบประมาณต่อรัฐบาล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว สป.จึงมีแนวคิดสมมติฐานการให้สัมปทานดังนี้

1) รายได้ทั้งหมดจากการให้สัมปทานเป็นยอดรวมระหว่างรายได้จากค่าประมูลและจากค่าสัมปทานรายเดือนและรายได้
อื่นๆที่เกิดจากการเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรเป็นการให้สัมปทาน เช่น การขายรถโดยสารเดิมเป็นต้น 

2)ภาระหนี้สินทั้งหมดของ ขสมก.คิดจากภาระหนี้สินเดิมรวมกับดอกเบี้ย และภาระหนี้ที่เกิดจากการเปลี่ยนโครงสร้างองค์
กรเป็นการให้สัมปทาน เช่น การจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้างพนักงาน เป็นต้น  

3) สมมติฐานการประมูล คือ รายได้จากค่าประมูลต้องครอบคลุมภาระหนี้สินทั้งหมดของ ขสมก.และรายได้จากค่า
สัมปทานรายเดือนต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายรายเดือนของ ขสมก.ตามโครงสร้างใหม่ 

4)กำหนดระยะเวลาในการให้สัมปทาน ขึ้นกับการคำนวณระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้รายได้ที่จะได้รับในข้อ 1)สามารถ
ครอบคลุมกับภาระหนี้ในข้อ 2) หรือตามสมมติฐานการประมูลในข้อ 3) 

ทั้งนี้ในการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการและการบริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพโดยให้สัมปทานการเดินรถโดยสาร
ประจำทางทั้งหมดให้กับผู้ประกอบการเอกชน มีรายละเอียดข้อเสนอแนะดังนี้

1.โครงการเช่ารถโดยสารปรับอากาศใช้ก๊าซธรรมชาติ (ซีเอ็นจี) ไม่สามารถแก้ไขปัญหาผลประกอบการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพได้อย่างเบ็ด เสร็จ เนื่องจาก ขสมก.ยังคงต้องแบกรับภาระต้นทุนการเดินรถโดยสารทั้งเงินเดือนค่าตอบแทน ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าเช่า ค่าซ่อมบำรุง และค่าดอกเบี้ย อีกทั้งยังไม่มีความชัดเจนด้านความคุ้มค่าของการดำเนินการตามโครงการดัง กล่าวที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการเช่า

2.รัฐต้องใช้ระบบสัมปทานการเดินรถโดยสารประจำทางทั้งหมดให้กับผู้ประกอบการเอกชนคือผู้รับสัมปทานต้องเป็นผู้ลงทุน
ในการเดินรถเอง ส่วน ขสมก.มีหน้าที่ในการอำนวยการ บริหารสัญญาและตรวจสอบควบคุมมาตรฐานคุณภาพการบริการ
สภาพรถและอุปกรณ์ซึ่งจะทำให้ผลประกอบการของ ขสมก.ดีขึ้น เนื่องจาก 

(1) ในเบื้องต้น ขสมก.จะได้รับเงินค่าสัมปทานการเดินรถจากผู้รับสัมปทานและรับเงินจากการขาย รถโดยสารประจำทางเดิมของ ขสมก.ซึ่งจะนำมาลดภาระหนี้สะสมของ ขสมก.จะกระทั่งหมดไปได้

(2)ขสมก.จะลดภาระประจำอันเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายหลักในการดำเนินการ ปัจจุบัน เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าซ่อมบำรุง เป็นต้น

(3) ขสมก.จะได้รับค่าสัมปทานรายเดือนจากผู้รับสัมปทานและอาจรวมถึงค่าเช่าอู่ สำนักงานเดิมของ ขสมก.รายเดือน ซึ่งจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายรายเดือนตามโครงสร้างใหม่ของ ขสมก.

3.ขสมก.มีหน้าที่ในการบริหารสัญญา (Regulator) กำกับและบริหารสัญญาเดินรถให้เป็นไปตามสัญญาการให้บริการเชิงคุณภาพ โดยกำหนดมาตรฐานและเงื่อนไขขั้นต่ำที่เหมาะสมในการให้บริการเป็นมาตรฐาน เดียวกันเพื่อให้ผู้ประกอบการทุกรายต้องถือปฏิบัติ

- แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมที่มีองค์ประกอบจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐาน ข้อกำหนด เงื่อนไข ราคาทรัพย์สินที่จะขายให้แก่ผู้รับสัมปทาน รวมถึงอัตราค่าสัมปทานและราคาค่าโดยสาร ในสัญญาสัมปทาน

- ควรมีการทบทวนเส้นทางการเดินรถให้เหมาะสม เพื่อรองรับความต้องการของประชาชนและความคุ้มทุนด้านธุรกิจของผู้รับ
สัมปทาน โดยอาจแบ่งการให้สัมปทานเป็นรายกลุ่มเส้นทาง คือให้พิจารณาเส้นทางที่มีโอกาสในการประกอบธุรกิจง่ายและยาก
ไว้ด้วยกัน

- กำหนดให้ผู้รับสัมปทานทุกรายต้องรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายในการเดินรถโดยสารประจำทางทั้งหมด

- กำหนดให้ผู้ขอรับสัมปทานต้องขอรับสัมปทนเป็ฯจำนวนรถโดยสารประจำทาง ในแต่ละเส้นทางการเดินรถตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ดังนั้นในหนึ่งเส้นทางเดินรถจะมีผู้รับสัมปทานมากกว่า 1 ราย

- ควรกำหนดสัดส่วนร้อยละของจำนวนรถโดยสารที่จะรับสัมปทานได้มากที่สุดในแต่ละเส้นทาง ทั้งนี้เพื่อให้โอกาสผู้ประกอบ
การรายเล็กสามารถเข้ามาแข่งขัน และเป็นทางเลือกแก่ผู้โดยสารรวมทั้งเกิดการะกระตุ้นเพิ่มประสิทธิภาพการรักษามาตรฐาน
การให้บริการ

- อาจเลือกใช้วิธีการประมูลขายรถโดยสารที่มีอยู่เดิมของ ขสมก.หรือกำหนดให้ผู้รับ

- กำหนดให้ผู้รับสัมปทานต้องปรับรุงระบบเชื้อเพลิงของรถโดยสารประจำทางเปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติ ภายในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา

-กำหนดให้ผู้รับสัมปทานทุกรายต้องใช้รถโดยสารประจำทางที่ได้มาตรฐานและมี คุณลักษณะทั้งทางกายภาพ การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ E-Ticket GPS GPRS ตามที่กำหนดในสัญญา

-กำหนดเงื่อนไขการปรับขึ้นราคาค่าโดยสาร การให้เงินอุดหนุนกรณีที่รัฐขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้ชะลอการขึ้นค่า โดยสาร ต้องคำนวณจากต้นทุนการดำเนินงานและค่าเชื้อเพลิงโดยใช้ราคาก๊าซธรรมชาติ เป็นฐาน

-กำหนดให้ผู้รับสัมปทานทุกรายต้องรับลูกจ้างเดิมบางส่วนของ ขสมก.มาเป็นพนักงานใหม่ของผู้ได้รับสัมปทานโดยต้องมีจำนวน และระยะเวลาการจ้างไม่น้อยกว่าที่กำหนดในสัญญาในรูปแบบัอตราถอยหลัง คือจำนวนร้อยละของลูกจ้างเดิม ขสมก.ที่กำหนดให้ผู้รับสัมปทานต้องจ้างจะลดลงตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น

-กำหนดให้รัฐต้องมีมาตรการรับรองที่ชัดเจน และเป็นธรรมต่อพนักงาน ขสมก.ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงต้องมีกระบวน
การสร้างความเข้าใจต่อพนักงาน ขสมก.ก่อนเริ่มดำเนินการโดยแบ่งการดำเนินการเป็น 4 กรณี คือ

ก)พนักงานที่สมัครใจออกจากงานโดยเข้าดครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดและไม่ประสงค์จะทำงานต่อ ข) พนักงานที่
สมัครใจออกจากงานโดยเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดและประสงค์จะเข้าทำงานเป็นพนักงานใหม่ตามระบบการจ้าง
ของผุ้รับสัมปทาน ค)พนักงานที่ไม่ประสงค์จะเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดและต้องการจะทำงานต่อตามระบบงาน
ใหม่ของ ขสมก. และ ง)พนักงานที่ไม่ประสงค์จะเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดและต้องการจะทำงานต่อดดยเป็น
พนักงานใหม่ตามระบบงานของผู้รับสัมปทาน 

ทั้งนี้ งบประมาณที่ใช้ในการจ่ายค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างในข้อ ก)และ ข้อ ข)และกรณีการจ่ายเงินส่วนต่างของอัตราเงินเดือน
ที่ขาดไปจากเดิมในกรณีปฏิบัติงานต่อจนกว่าจะเกษียณในข้อ ค)และข้อ ง) ให้ใช้เงินจากรายรับที่ได้จากการให้สัมปทาน
เดินรถ โดยมีการประมาณการล่วงหน้าและคิดรวมไว้เป็นต้นทุนภาระหนี้สินของ ขสมก.แล้ว ซึ่งคุ้มค่ากว่าการต้องรับภาระ
ดอกเบี้ยจากหนี้สะสม ประมาณปีละ 3 พันล้านบาท 

4.รัฐต้องมีการปรับโครงสร้างองค์กรและการบริหารงาน ขสมก.ใหม่ เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงดัง
กล่าวข้างต้น 

5.การบริหารจัดการเดินรถรูปแบบใหม่และการประเมินการบริการเชิงคุณภาพ (พีบีซี)โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มา
ประยุกต์ใช้ ให้กำหนดตามเกณฑ์ที่ ขสมก.ได้นำเสนอในแผนปรับปรุงการบริหารจัดการ 

6. กรณีที่รัฐมีความจำเป็นต้องดำเนินการมาตรการลดค่าครองชีพประชาชนในส่วนของการลดค่าใช้จ่ายการเดินทาง (รถ
โดยสารประจำทางะรรมดา) เพื่อให้มาตรการดังกล่าวเป็นการช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยอย่างแท้จริงรัฐต้องดำเนิน
การให้มีการขึ้นทะเบียนประชาชนผู้มีรายได้น้อย และควรเลือกใช้วิธีการแจกคูปองที่ใช้ได้กับรถบริการทุกคันแทนการจัดรถ
บริการเฉพาะให้กับผู้มีรายได้น้อย (กรณี 800คันป เนื่องเพราะจะทำให้ผู้มีรายได้น้อยมีโอกาสเลือกเส้นทางและมีจำนวน
รถบริการรองรับผู้มีรายได้น้อยมากขึ้น ทั้งยังก่อให้เกิดรายได้แบบกระจายตัวกับผู้รับสัมปทาน รวมทั้งรัฐบาลจะจ่ายค่าบริการ
เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยตามจริง และเก็บข้อมูลเพื่อการวางแผนที่เหมาะสมต่อไป

Tags : ปชป. หัก ภท. สัมปทานเอกชน วิ่งเมล์ 4 พันคัน

view