จาก โพสต์ทูเดย์
การพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณในวันที่ 18-19 ส.ค.นี้คงผ่านไปได้อย่างไม่ยากเย็นนักเพราะทุกพรรคได้รับประโยชน์จากงบ ประมาณถ้วนหน้า....
โดย...ไพบูลย์ กระจ่างวุฒิชัย
เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับการทำงานของคณะ กรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 และพร้อมจะให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในวาระ2และ3ในระหว่างวันที่ 18-20 ส.ค.
โดยเม็ดเงินงบประมาณทั้งหมดมีจำนวนทั้งสิ้น 2.07 ล้านล้านบาท ถือเป็นครั้งแรกของการจัดทำงบประมาณของประเทศไทยที่มียอดตัวเลขงบประมาณเกิน หลัก2ล้านล้านบาท ผนวกกับกระแสความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรงบ ประมาณไม่เท่าเทียมกัน ทำให้การจัดทำงบประมาณประจำปีครั้งนี้กลายเป็นน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
สรุปแล้วการพิจารณางบประมาณในรอบนี้มีการปรับลดและเพิ่มเข้ามาในจำนวน 33,449,343,100 บาทเท่ากัน กระทรวงที่ถูกปรับลดงบประมาณมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.กระทรวงมหาดไทย 9,874,534,200 บาท 2.กองทุนและเงินหมุนเวียน 4,576,950,000 บาท 3.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3,243,651,600 บาท 4.กระทรวงกลาโหม 2,533,194,600 บาท และ 5.กระทรวงศึกษาธิการ 2,363,652,400 บาท
ส่วน 5 อันดับของหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณเพิ่มมากขึ้น ประกอบด้วย 1.กระทรวงมหาดไทย 8,970,802,800 บาท 2.รัฐวิสาหกิจ 7,084,001,400 บาท 3.กระทรวงศึกษาธิการ 5,445,213,300 บาท 4.กระทรวงคมนาคม 4,795,779,900 บาท และ 5.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 1,294,898,800 บาท
เมื่อเห็นตัวเลขลักษณะนี้ออกมาทำให้จุดสนใจไปอยู่ที่กระทรวงมหาดไทยทันที ในฐานะเป็นกระทรวงของพรรคภูมิใจไทยและเป็นส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณเพิ่ม เข้ามามากที่สุด พบว่างบประมาณ 8,970,802,800 กระจายไปอยู่ใน 4 หน่วยงานหลัก คือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และ กรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้รับมากที่สุดถึง 8,142,110,500 บาท ถูกจัดสรรอยู่ในแผนงานส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองซึ่งเป็นกิจกรรมการ ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น
เงินจำนวนดังกล่าวเป็นงบเงินอุดหนุนสำหรับการค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ใน3 ด้าน แบ่งเป็น 1.ก่อสร้างถนนไร้ฝุ่นราคาต่อหน่วยต่ำกว่า 10 ล้านบาทจำนวน 3,406,238,000 บาท 2.ก่อสร้างลานกีฬาราคาต่อหน่วยต่ำกว่า 10 ล้านบาท 720,000,000 บาท และ 3.ก่อสร้างโครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ราคาต่อหน่วยต่ำกว่า 10 ล้านบาท
โดยกรณีนี้เคยเป็นประเด็นที่กมธ.จากพรรคเพื่อไทยตั้งข้อสังเกตเอาไว้เป็น งบประมาณที่กระจุกตัวเกินไปหรือไม่ เพราะในชั้นการพิจารณาของกมธ.พบว่า ลพบุรี สุรินทร์ เลย และพะเยา มีการได้รับงบประมาณมากเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นพื้นที่ทางการเมืองที่มีสายเชื่อมโยงกับพรรคภูมิใจไทย
ถึงขั้นที่ ‘วิทยา บุรณศิริ’ ประธานวิปฝ่ายค้าน ต้องฝากให้ ‘ไตรรงค์ สุวรรณคีรี’ รองนายกรัฐมนตรี ไปบอก ‘อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ’ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเอากลับไปแก้ไขมาแล้ว
เช่นเดียวกับกระทรวงคมนาคม อีกหนึ่งหน่วยงานภายใต้สังกัดของพรรคภูมิใจไทยที่มีความน่าสนใจเช่นกัน เพราะเป็นส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นแบบน่าสนใจถึง 4,795,779,900 บาท ทั้งๆที่ถูกปรับลดเพียง 1,155,184,300 บาท
กรมทางหลวงชนบท เป็นหน่วยงานของกระทรวงคมนาคมที่ได้รับงบประมาณเพิ่มมากที่สุดจำนวน 4,563,481,000 บาท ซึ่งพบว่าถูกจัดสรรอยู่ใน 2 ส่วน ดังนี้
1.การพัฒนาระบบโครงข่ายทางหลวงชนบท 3,563,481,000 บาท โดยเป็นทั้งงบลงทุน งบรายจ่ายอื่นๆ ค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้าง ในรายงานของคณะกมธ.ระบุว่าเป็นค่าก่อสร้างทางและสะพานที่มีราคาต่อหน่วยต่ำ กว่า 10 ล้านบาท จำนวน 1 รายการ (764 หน่วย) จำนวน 3,514,872,100 บาท
2.การบำรุงรักษาระบบโครงข่ายทางหลวงชนบท 1,000,000,000 บาท เงินจำนวนนี้จะอยู่ในงบลงทุนที่เป็นค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างเช่นเดียวกัน ที่มีราคาต่อหน่วยต่ำกว่า 10ล้านบาท รวม 1 รายการ (277 หน่วย)
ใช่ว่าจะมีเพียงแต่หน่วยงานในสังกัดภูมิใจไทยเท่านั้นที่จะได้รับงบประมาณในระดับที่สูงแต่พรรคการเมืองใหญ่อย่าง ‘ประชาธิปัตย์’ และ ‘ชาติไทยพัฒนา’ ก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โควต้าของชาติไทยพัฒนารับเพิ่มเข้ามา1,294,898,800 บาท จากเดิมที่ถูกปรับลดเพียง 116,365,700 บาท แบ่งเป็น 1.งบเงินอุดหนุน 989,028,800 บาทสำหรับโครงการพัฒนากีฬาขั้นพื้นฐาน กีฬามวลชนและนันทนาการทุกระดับ และ โครงการส่งเสริมกีฬาและนันทนาการเพื่อพัฒนาสุขภาพของประชาชน 2.งบลงทุนสำหรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวและบริการ 305,870,000 บาท
โดยในงบลงทุนนี้มีปรากฏว่ามี 2 รายการที่ลงไปที่จ.สุพรรณบุรีโดยตรง คือ โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เล่าขานตำนานเมืองสุพรรณ ถิ่นมหัศจรรย์ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี 20,000,000 บาท และโครงการพัฒนาตลาดเก่าเก้าห้อง จ.สุพรรณบุรี 15,000,000 บาท ขณะที่มีโครงการส่งเสริมและบูรณาการแหล่งท่องเที่ยว 61 รายการ 270,870,000 บาท
กระทรวงศึกษาธิการ โควต้าของพรรคประชาธิปัตย์ รับเพิ่มเข้ามา5,445,213,300 บาท จากเดิมมีการปรับลด 2,363,652,400 บาท หน่วยงานในสังกัดที่ได้รับงบประมาณสูงสุด คือ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขึ้นพื้นฐาน 4,770,813,300 บาท สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา 312,000,000 บาท สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 337,400,000 บาท และ มหาวิทยาลัยมหิดล 25,000,000 บาท
เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบ ประมาณในวันที่ 18-19 ส.ค.นี้คงผ่านไปได้อย่างไม่ยากเย็นนักเพราะทุกพรรคได้รับประโยชน์จากงบ ประมาณถ้วนหน้า
*****************************
ข้อเสนอจากกมธ.ถึงรัฐบาลต้องสร้างความเป็นธรรมทุกด้าน
ขณะเดียวกันกมธ.ได้มีการตั้งข้อสังเกตและข้อเสนอให้รัฐบาลนำไปปฎิบัติใน การบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1.ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมั่นประเทศ รัฐบาลต้องกำหนดมาตรการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างจริงจังเป็นรูปธรรม บูรณาการภารกิจร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนแนวทางและสร้างกลไกการปฎิบัติงานตาม มาตรการอย่างเหมาะสม รวมทั้งสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานภาครัฐมุ่งสร้างจิตสำนึกในความรักชาติ ศาสนา และความจงรักภัคดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในทุกโอกาส
2.ยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงของรัฐ รัฐบาลควรเร่งดำเนินมาตรการตามยุทธศาสตร์ในการสร้างความมั่นคงของประเทศ อย่างจริงจังเพื่อนำความสงบมาสู่ประเทศอย่างรวดเร็ว รัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเยียวยาให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผล กระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองอย่างทั่วถึง เป็นธรรม โปร่งใส และ รวดเร็ว
3.ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม รัฐบาลควรกำหนดนโยบายหรือแนวทางในการมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้าน สาธารณสุขให้มากขึ้น การจัดสรรงบประมาณ ควรคำนึงถึงในโอกาสและการเข้าถึงบริการของประชาชนโดยเท่าเทียมกันในทุกด้าน ทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย และ ทุกพื้นที่ รวมทั้งการกำหนดมาตรการในการดูแลสุขอนามันขั้นพื้นฐานของประชาชน
4.ยุทธศาสตร์การจัดการเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับหน่วยงานที่มีภารกิจในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการดำเนินการภารกิจ และควรกำหนดมาตรการและแผนรองรับทางการเงินการคลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และแก้ไขปัญหาผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น
5.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรอบการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศโลก รัฐบาลควรพิจารณาจัดทำแผนและการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบเพื่อใช้เป็นแนวทาง การดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมิให้เกิดความซ้ำซ้อน โดยจัดสรรงบประมาณและจัดหาเงินนอกงบประมาณมาสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการ ต่างๆ โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องใน พื้นที่
6.ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม การดำเนินงานโครงการวิจัยต่างๆ ควรอยู่บนพื้นฐานของความต้องการของประชาชน หรือการแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ โดยแบ่งเป็นกลุ่มๆให้ชัดเจน และให้มีแผนงานในการขับเคลื่อนที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันแบบบูรณาการเพื่อนำ ผลงานไปต่อยอดหรือขยายผลไปสู่การปฎิบัติได้
7.ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรเร่งฟื้นความสัมพันธ์ประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา เพื่อลดปัญหาความตึงเครียดและอุปสรรคในการเจรจากรอบความร่วมมือต่างๆใน ทุกระดับ
8.ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี รัฐบาลต้องมีการมาตรการในการสร้างเสริมระบบธรรมาภิบาลในการบริหารราชการแผ่น ดิน โดยหน่วยงานต่างๆอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม เพื่อแก้ไขปัญหาทุจริต ควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการใช้จ่ายงบประมาณและวางระบบติดตามตรวจสอบ ประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น