จากประชาชาติธุรกิจ
นับ ว่าใกล้เคียงความจริงที่สุดแล้ว สำหรับการมาถึงของใบอนุญาตใหม่ มือถือยุคที่ 3 (third generation) หลังจากรอคอยกันมานานไม่ต่ำกว่า 5 ปี โดยคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เตรียมนำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้ คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHz ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาในเดือนนี้ (ก.ค.) ก่อนเริ่มกระบวนการประมูลในเดือน ก.ย.
ท่ามกลางกระแสคัดค้านของ "ค่าย มือถือ" ต่อร่างฯเงื่อนไขเพิ่มเติมในประเด็นที่เกี่ยวกับ "การส่งคืนคลื่นความถี่" เดิม กลับไปยังคู่สัญญาสัมปทานในกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการ 3G เป็นผู้ให้บริการ 2G ภายใต้สัมปทานด้วย เพิ่มเติมในประเด็นที่เกี่ยวกับ "การส่งคืนคลื่นความถี่" เดิม กลับไปยังคู่สัญญาสัมปทานในกรณีผู้ได้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการ 3G เป็นผู้ให้บริการ 2G ภายใต้สัมปทานด้วย
ล่าสุดได้เคลื่อนไหวผ่าน สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ด้วยการยื่นหนังสือคัดค้าน โดยระบุว่าเป็นเงื่อนไขที่คลุมเครือ อาจมีปัญหาในทางปฏิบัติ และถือเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจัดสรรคลื่นความถี่ในอดีต จึงควรประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการล่วงหน้าให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับ รู้
ผู้บริหารจาก "ดีแทค" ถึงกับบอกว่า การปฏิบัติตามเงื่อนไข "การส่งคืนคลื่นความถี่" ทำให้บริษัทจำเป็นต้องทบทวนว่าจะเข้าร่วมประมูลใบอนุญาต 3G ด้วยหรือไม่ ถ้าการเข้าประมูลหมายถึงต้องส่งคืนคลื่นที่มีในมือ "คุ้ม" พอที่จะเสี่ยงโดนยึดคืนคลื่นหรือไม่เป็นเรื่องที่ผู้ถือหุ้นต้องตัดสินใจ
ถึง กระนั้น "กทช." ก็ไม่ได้หวั่นไหวแต่ประการใด ยังยืนยันกรอบเวลาเดิมในเดือน "ก.ย." ที่ "กทช." ต้องเปิดประมูลไลเซนส์ 3G ให้ได้ในเดือน ก.ย. ก็เพราะ กทช. ชุดเดิม 3 คน ใน 7 คน จะครบวาระในเดือนนี้ แม้ตามกฎหมายจะระบุให้ทำหน้าที่ต่อได้แต่ถ้าปล่อยให้ลากยาว อาจมีคำถามตามมาอีกมากต่อความเหมาะสมในการทำหน้าที่
ดังนั้นการเดินหน้าก่อนที่ 3 กรรมการ "กทช." จะหมดอายุ น่าจะเป็นระยะที่ปลอดภัยที่สุด
และ เพื่อให้เอกชนมีความมั่นใจยิ่งขึ้นว่า เงื่อนไข "การส่งคืนคลื่น" จะไม่กระทบ กับสัญญาสัมปทานเดิม "กทช." จึงนัดคู่สัญญาทั้งรัฐ (ทีโอที-กสทฯ) และเอกชน (ค่ายมือถือ) มาทำความเข้าใจร่วมกันอย่างอีกครั้ง เมื่อวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา
เกือบทั้งหมดเข้าใจที่มาที่ไป และเจตนารมณ์ของกทช.แต่เอกชนทุกรายยังคง ไม่เห็นด้วยกับเงื่อนไขดังกล่าว (แม้แต่ กสทฯ)แต่มีดีกรีอ่อนแก่ตามผลกระทบที่คาดว่าจะได้รับ
กรณีดีแทคต้องคิดหนักกว่าทุกเจ้า เพราะอายุสัญญาเหลืออีกตั้ง 8 ปี ทั้งมีความถี่ในมือไม่ใช่น้อย
ในมุม กทช.ถือเป็นกระบวนการ เปลี่ยนผ่านการประกอบกิจการโทรคมนาคม จากระบบ "สัมปทาน" ไปสู่ระบบ"ใบอนุญาต"
โดย "พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์" กรรมการ กทช. ย้ำว่า เงื่อนไขการส่งคืนคลื่นเป็นเพียงการโอนสิทธิ์ในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ ไปยังทีโอทีและกสทฯ ขณะที่เอกชนผู้รับสัมปทานยังมีสิทธิ์ใช้คลื่นจนหมดอายุ ที่ต้องเพิ่มเติม เพราะเงื่อนไขเดิมกำหนดให้ผู้ให้บริการ 2G ที่ได้รับใบอนุญาต 3G ยุติบริการภายใต้สัมปทานเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของสัญญา และเพื่อให้มีความชัดเจนในแนวทางปฏิบัติจึงกำหนดเงื่อนไขการจำกัดการถือครอง คลื่นความถี่ (spectrum cap) ซึ่งกำหนดให้มีการจัดทำแผนการ ส่งคืนความถี่
"เป็นไปได้ว่าผู้ประกอบการบางรายที่มีคลื่นความถี่มาก อาจมีความกังวลใจที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่"
ไม่ มีใครปฏิเสธว่าการมาถึงของไลเซนส์ใหม่ 3G จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมในบ้านเราอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการประกอบธุรกิจ และการกำกับดูแล จากระบบสัมปทานไปสู่ระบบ ใบอนุญาต
ผู้ได้รับผลกระทบเต็ม ๆ หนีไม่พ้น "ทีโอที และ กสทฯ" เจ้าของสัญญาสัมปทานบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพราะค่ายมือถือเจ้าเดิม ไม่น่าจะมีใครยอมตกขบวนรถไฟสาย "3.9G" โดยเฉพาะที่เหลืออายุสัมปทานอีกไม่กี่ปี (ทรูมูฟ 3 ปี, เอไอเอส 5 ปี และดีแทค 8 ปี)
ขณะที่ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจภายใต้ระบบใบอนุญาตต่ำ กว่าระบบสัมปทานเดิม (แม้ กทช.จะกำหนดราคาเริ่มต้นในการประมูลคลื่นไว้ที่ 1.28 หมื่นล้านบาท)
เมื่อไรที่ค่ายมือถือเดิมมีไลเซนส์ 3G ในมือ การโอนถ่ายลูกค้าจาก 2G เดิม ภายใต้ระบบสัมปทานไปยัง 3G ซึ่งอยู่ ภายใต้ระบบใบอนุญาตย่อมเกิดขึ้นอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงใด
ไลเซนส์ใหม่มา รายได้จากสัมปทานย่อมหายวับ กระทบต่อสถานะองค์กร"ทีโอที-กสทฯ" และกระทบกระเป๋าตังค์รัฐบาล
จึงไม่น่าแปลกที่กระทรวงการคลังจะพยายามส่งสัญญาณมายัง "กทช." เป็นระยะว่าควรหารือร่วมกัน
เมื่อ วันที่ 13 ก.ค. 2553ที่ผ่านมาปลัดกระทรวงการคลัง "สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์" ได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการ กทช. ระบุว่า การออกหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐ จึงเห็นว่าหาก กทช.ได้หารือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องก่อนจะเป็นประโยชน์ในเชิงนโยบายใน ภาพรวมมากขึ้น
จะว่าไปแล้ว เม็ดเงินที่ได้จากการประมูลใบอนุญาต 3G โดย "กทช." ก็ต้องส่งเข้ากระทรวงการคลัง เช่นเดียวกับรายได้จากสัมปทานมือถือ
เรียก ว่าเป็นกระเป๋าซ้ายกระเป๋าขวาก็ไม่ผิดนัก ดังนั้นสิ่งที่กระทรวงการคลังกำลังพยายามทำ ก็คือทำอย่างไรให้มีทั้งกระเป๋าซ้ายและขวาเหมือนเดิม หรือให้กระทบถึงกันให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
ล่าสุดนายกรัฐมนตรี "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ถึงกับลงมากำกับนโยบายด้วยตนเอง โดยระบุว่า ถ้า กทช.จะมีการประมูลมือถือ 3G ตามที่ประกาศ ก็ต้องมีแก้ไขปัญหาสัมปทาน ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่ดูแลให้การแข่งขันเป็นธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุดกับ ประชาชน และได้มอบให้กระทรวงการคลัง และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ดำเนินการ
"โดย อำนาจหน้าที่ กทช. ดำเนินการได้ เพียงแต่ว่าถ้า กทช.จะดำเนินการอย่างนี้ ก็ถือว่าหน้าที่รัฐบาลก็ต้องมาปรับกติกาการแข่งขันในส่วนผู้ประกอบการที่รับ สัมปทานเพื่อให้การแข่งขันของโทรคมนาคมนั้นเป็นธรรม และเกิดประโยชน์สูงสุด" นายกฯย้ำ
การแปรสัญญาสัมปทานดูจะเป็นทาง ออกสุดท้าย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะต้องทำอย่างไรให้ "วิน-วิน" ทุกฝ่าย ระหว่างเอกชนคู่สัญญากับรัฐวิสาหกิจ
เพียงแต่ครั้งนี้มีกรอบเวลาการ ประมูลไลเซนส์ 3G ของ "กทช." ในเดือน ก.ย.นี้ เป็นเส้นตายสำหรับการคลี่ปมสัญญาสัมปทาน ซึ่งที่ผ่านมามีความพยายามมาแล้วหลายรัฐบาลแต่ไม่เคยสำเร็จ