สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

18กิจการ เหลวถูก กก.สวล.ตีกลับ ภาคเอกชนหนักใจ ก.ทรัพย์-กก.4ฝ่าย ตีกันเอง

จากประชาชาติธุรกิจ



คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตีกลับร่างกิจการที่จะส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้ง 18 รายการ ที่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายชุดอานันท์เสนอ เหตุเกิดความขัดแย้งระหว่างกระทรวงทรัพยากรฯ กับคณะกรรมการ 4 ฝ่าย เรื่องอำนาจในการพิจารณาว่า กิจการใดส่งผลกระทบรุนแรง



ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับร่างประเภท โครงการหรือกิจการที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่ง แวดล้อม/ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ รวมทั้งสิ้น 18 กิจการ ปรากฏในที่ประชุมมีความเห็นของคณะกรรมการ แตกต่างกันจึงได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการวินิจฉัยข้อร้องเรียนโครงการหรือ กิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงภายใต้กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลับไปพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อนำเสนอคณะกรรมกา ริพิจารณาอีกครั้งใน 2 เดือน

ทั้งนี้ร่างประเภทกิจการรุนแรงดัง กล่าวเป็นร่างที่จัดทำโดยคณะกรรมการ 4 ฝ่ายแก้ไขปัญหามาบตาพุดที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้นำเสนอภายใต้เงื่อนไขของมาตรา 67(2) รัฐธรรมนูญ 2550 ที่จะต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA), รายงานผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA), การเปิดเวทีฟังความคิดเห็นและให้องค์การอิสระให้ความเห็น ประกอบด้วย 1) โครงการหรือกิจการที่ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่อยู่ในพื้นที่อ่อนไหว เช่น แหล่งมรดกโลก, อุทยานประวัติศาสตร์, ป่าอนุรักษ์

2) กิจการถมทะลหรือทะเลสาบนอกเขตชายฝั่งเดิมทุกขนาดถ้าอยู่ในพื้นที่คุ้มครอง สิ่งแวดล้อม,แหล่งธรรมชาติอนุรักษ์, แหล่งท่องเที่ยว และแหล่งอาชีพ นอกเหนือพื้นที่ดังกล่าวกำหนดไว้ที่ 300 ไร่ขึ้นไป 3) การก่อสร้างหรือขยายสิ่งก่อสร้างถาวรนอกชายฝั่งทะเลเดิมเพื่อกันคลื่นหรือ กระแสน้ำในทะเลทุกขนาด 4) เหมืองต่าง ๆ ได้แก่ เหมืองใต้ดินทุกขนาด,เหมืองแร่ตะกั่ว สังกะสี ทองคำ ทุกขนาด, เหมืองถ่านหิน ขนาด 2.5 ล้านตัน/ปี และเหมืองแร่ในทะเล

5) นิคมอุตสาหกรรมที่รองรับโรงงานปิโตรเคมีหรือโรงงานถลุงแร่เหล็กทุกขนาด 6) โรงงานปิโตรเคมีขั้นต้นทุก ขนาดหรือการขยายกำลังการผลิตตั้งแต่35% ขึ้นไป โรงงานปิโตรเคมีขั้นกลางขนาดกำลังการผลิต 100 ตัน/วัน หรือขยายกำลังการผลิต 35% ขึ้นไป ในส่วนที่ใช้สารเคมีเป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่ม 1 และขนาดกำลังผลิต 700 ตัน/วัน หรือขยายกำลังการผลิต 35% ขึ้นไปในส่วนที่ใช้สารเคมีเป็นสารก่อมะเร็ง กลุ่ม 2A 7) โรงงานถลุงแร่หรือหลอมโลหะ โดยโรงถลุงแร่เหล็กขนาด 5,000 ตัน/วันขึ้นไป,โรงถลุงแร่เหล็กที่มีการผลิตถ่านโค้กทุกขนาด, โรงถลุงแร่ทองแดง ทองคำ หรือสังกะสี กำลังการผลิต 1,000 ตัน/วันขึ้นไป, โรงถลุงแร่ตะกั่วทุกขนาด, โรงหลอม โรงโลหะ ขนาด 50 ตัน/วัน และโรงหลอมตะกั่วขนาด 10 ตัน/วันขึ้นไป

8) กิจการผลิตหรือกำจัดหรือปรับ แต่งสารกัมมันตรังสีทุกขนาดยกเว้น โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา 9) โรงงาน ฝังกลบหรือเผาของเสียอันตรายทุกขนาด 10)เตาเผาขยะติดเชื้อทุกขนาด 11) สนามบินและสนามที่มีการขยายทางวิ่งตั้งแต่1,100 เมตรขึ้นไป 12) ท่าเทียบเรือ 13) เขื่อนเก็บกักน้ำหรืออ่างเก็บน้ำตั้งแต่ 100 ลบ.ม.ขึ้นไป 14) กิจการชลประทาน ตั้งแต่ 80,000 ไร่ขึ้นไป 15) โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน ขนาดกำลังการผลิต 100 เมกะวัตต์ขึ้นไป, โรงไฟฟ้าชีวมวล 150 เมกะวัตต์ ขึ้นไป, ก๊าซธรรมชาติ 700 เมกะวัตต์ขึ้นไป, ความร้อนร่วม 1,000 เมกะวัตต์ขึ้นไปและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทุกขนาด 16) กิจการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำหลักทุกขนาด 17) สิ่งก่อสร้างกั้นขวางการไหลของน้ำในแม่น้ำสายหลักทุกขนาด และ 18) การสูบน้ำเกลือใต้ดิน

จากการประชุมที่ออกมาข้างต้น นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในส่วนของร่างกิจการรุนแรงนั้น ภาคเอกชนอยากจะให้รัฐบาลประกาศออกมาให้มีความชัดเจนโดยเร็ว เพื่อจะได้เป็นกรอบในการดำเนินธุรกิจต่อไปแต่การที่คณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติไม่อนุมัติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายเสนอ และให้คณะอนุกรรมการวินิจฉัยกลับไปศึกษารายละเอียดอีก 2 เดือนนั้นจะใช้เวลานานเกินไป

"ในความเป็นจริง ร่างประเภทกิจการ ทั้ง 18 รายการคณะกรรมการ 4 ฝ่าย ใช้เวลาในการพิจารณานานพอสมควรผมคิดว่าคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯน่าจะพิจารณา ให้ความเห็นชอบมีผลบังคับใช้เลย"

อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า ในส่วนของรายชื่อโครงการหรือกิจการที่อาจจะส่งผลกระทบรุนแรงนั้นเป็นเรื่อง ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมี ความเห็นขัดแย้งกับคณะกรรมการ 4 ฝ่ายโดยกระทรวงทรัพยากรฯไม่เห็นด้วยที่จะให้ประกาศรายชื่อกิจการทั้ง 18 กิจการออกมา แต่ควรจะใช้กลไกคณะอนุกรรมการวินิจฉัยข้อร้องเรียนฯที่อยู่ภายใต้อำนาจ ของกระทรวงทรัพยากรฯมาเป็นผู้วินิจฉัยว่า กิจการใดเข้าข่ายรุนแรงมากกว่า

Tags : 18กิจการ กก.สวล. ตีกลับ ภาคเอกชน ก.ทรัพย์ กก.4ฝ่าย ตีกันเอง

view