จากสำนักข่าวอิสรา
เปิดผลสอบคดีภาษีมูลค่าเพิ่ม "ดีเอสไอ" ระบุทำเป็นขบวนการ ปั้นบริษัทกระดาษ สำแดงตัวเลขส่งออกเกินจริง ทำลายระบบอากรประเทศ - รัฐสูญ 4.6 พันล้านบาท
หมายเหตุ: เป็นรายละเอียดผลการสอบสวนคดีกรมสรรพากรคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม วงเงิน 4,600 ล้านบาท เบื้องต้น ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นำมาเปิดเผยต่อสื่อมวลชน เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา
--------
กระทรวงการคลัง ได้ร้องทุกข์กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม ขอให้ดำเนินคดีกับกลุ่มนิติบุคคลและผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งมีพฤติการณ์ขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเท็จ ในรอบปี พ.ศ.2555 -2556 โดยพบว่า มีรูปแบบกระทำความผิดเป็นขบวนการ มีการวางแผนแบ่งงานกันทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อย่างซับซ้อนและแยบยล และมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้สนับสนุนหรือเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการ ซึ่งมีลักษณะเป็นการทำลายระบบภาษีอากร และจากการสืบสวนสอบสวน พบว่า มีการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้ว กว่า 4,600 ล้านบาท
จากการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน เบื้องต้นพบว่า กลุ่มบุคคลผู้กระทำความผิด ได้จัดตั้งนิติบุคคลขึ้นหลายบริษัท ในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรปราการ
โดยการเชิดบุคคลอื่นเข้ามาเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ โดยมีนายกิตติศักดิ์ อัญญโชติ เป็นผู้ติดต่อรวบรวมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด ซึ่งมีฐานะยากจน และมีรายได้น้อย ในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ตาก และนครสวรรค์ โดยให้ค่าตอบแทนรายละ 200 บาท
อ้างว่าจะนำไปติดต่อเกี่ยวกับการเปิด บริษัทหรือเกี่ยวกับสิทธิทางการเกษตร จากนั้น กลุ่มบุคคลดังกล่าวก็จะนำเอกสารหลักฐานไปจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล มีทั้งกลุ่มนิติบุคคลที่เป็นผู้ขายสินค้า และกลุ่มนิติบุคคลที่ขอคืนภาษี
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า นิติบุคคลหลายรายได้จัดตั้งบริษัทในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ในปี 2555 ผู้มีชื่อเป็นกรรมการผู้มีอำนาจหรือผู้ถือหุ้น เป็นบุคคลซ้ำๆ กัน หรือเป็นกลุ่มบุคคลเดียวกัน มีที่ตั้งสถานประกอบการเดียวกัน เปิดกิจการในเวลาใกล้เคียงกัน ใช้ระยะเวลาเปิดดำเนินการประมาณ 6-8 เดือน จากนั้น ก็ได้ปิดกิจการ โดยจดทะเบียนเลิกบริษัท บางรายก็เสร็จการชำระบัญชี
ส่วนกรณีในเรื่องของการ เตรียมการเกี่ยวกับสถานประกอบการ พบว่า มีการติดต่อเช่นสถานที่เป็นอาคารสำนักงานหรือห้องพักอาศัย โดยไม่มีความเหมาะสมกับกิจการซื้อขายเศษโลหะ รวมทั้งไม่มีการประกอบการใดๆ อันเป็นการพิสูจน์ว่ามีการซื้อขายสินค้ากันจริง
การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการอำพรางเจ้าหน้าที่ให้เชื่อว่าเป็นนิติบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริง
การจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลดังกล่าว แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนิติบุคคลที่มีกิจการรับซื้อ ขายเศษโลหะภายในประเทศ ซึ่งกรณีดังกล่าว การซื้อขายสินค้าหรือการบริหารภายในประเทศ จะต้องมีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเสมอ (ยกเว้นสินค้าบางประเภท) โดยเสียในอัตรา 7%
และกลุ่มนิติบุคคลที่ส่งออกสินค้าประเภท เศษโลหะไปยังต่างประเทศ ภาษีเป็น 0% ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนการขายสินค้าและการส่งออกไปยังต่างประเทศ สร้างรายได้ให้รัฐได้เงินตราต่างประเทศ
โดยทั้งสองกลุ่มมีการสร้างนิติกรรมซื้อ ขายสินค้าต่อกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้อ้างและจัดทำเอกสารหลักฐานการซื้อขายสินค้าประเภทเศษ โลหะที่มีการสร้างราคาให้สูงเกินจริง ถึงกิโลกรัมละ 600 บาท จากต้นทุนซื้อสินค้าแค่ 11 บาท
แล้วกลุ่มนิติบุคคลที่เป็นผู้ส่งออกและ ขอคืนภาษีก็จะนำราคาที่สำแดงต้นทุนสินค้าที่สูงเกินกว่าความเป็นจริงมายื่น เรื่องผ่านพิธีการส่งออกต่อกรมศุลกากร เพื่อให้ดูว่ามีการส่งออกสินค้าตามราคาที่ซื้อขายนั้นจริง
จากนั้น ก็จะนำราคาที่สำแดงต้นทุนสูงเกินกว่าความเป็นจริงนั้น มาติดต่อกรมสรรพากร เพื่อขอรับเงินคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากการส่งออก (เนื่องจากภาษีส่งออกเป็น 0%)
ขั้นตอนดังกล่าว เป็นการสร้างหลักฐานการซื้อขายอันเป็นเท็จมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ โดยร่วมกันเป็นเครือข่ายขบวนการ โดยการจัดตั้งกลุ่มนิติบุคคลที่เป็นผู้ขายสินค้า มาทำหน้าที่ในการออกหลักฐานการขายสินค้า โดยการออกใบกำกับภาษีขายให้กับกลุ่มนิติบุคคลที่เป็นผู้ซื้อสินค้าเป็นผู้ ส่งออกและขอคืนภาษี และนำใบกำกับภาษีขายดังกล่าว มาเป็นภาษีซื้อเพื่อขอคืนภาษี ซึ่งจากการสอบสวนพบว่าทั้งกลุ่มบริษัทผู้ขายสินค้าและกลุ่มบริษัทผู้ขอคืน ภาษีไม่มีตัวตนอยู่จริง มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท และปิดกิจการภายในระยะเวลาอันสั้น เพื่อหลีกเลียงการถูกตรวจสอบถูกติดตามจากเจ้าหน้าที่ อีกทั้งไม่มีการประกอบกิจการ และไม่มีการซื้อขายสินค้ากันจริงแต่อย่างใด
ประเด็นการพิสูจน์การส่งออก ของกรมศุลกากร พบว่ามีการสำแดงการส่งออกสินค้าประเภทโลหะอัดก้อนพิเศษในพิกัด 7206.900 ในราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 628-630 บาท โดยมีการส่งออกในช่วงเดือนมิถุนายน 2555 –มีนาคม 2556 เป็นจำนวนกว่า 100,000 ตัน มูลค่ากว่า60,000 ล้านบาท
แต่จากการสอบสวนพบว่าสินค้าที่ กลุ่มนิติบุคคลที่ขอคืนภาษีส่งออก เป็นข้อมูลการส่งออกเศษเหล็กธรรมดาอัดก้อนมีสนิม ซึ่งอยู่ในพิกัด 7204.2900 ซึ่งมีราคาส่งออกจริง กิโลกรัมละ 11-13 บาท
มิใช่เป็นการส่งออกโลหะพิเศษอัดก้อนแต่อย่างใด
นอกจากนี้ ยังได้ข้อมูลจากสถาบันเหล็กและเหล็กกล้า กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ยืนยันว่า สินค้าเหล็กที่พิกัด 7206.900 มีกำลังการผลิตในประเทศน้อย และจากสถิติการส่งออกนับตั้งแต่ปี 2550-2554 รวม 5 ปี มีเพียง 1,500 ตันเท่านั้น
ข้อมูล ดังกล่าวจึงพิสูจน์ได้ว่าในประเทศไทยไม่มีเหล็กพิกัด 7206.900 ผลิตและส่งออกในปีเดียวถึงกว่า 100,000 ตัน และมีการขายในราคากว่า 600 บาท ตามที่ได้สำแดง
ส่วนกรณีการพิสูจน์เส้นทางทางการเงิน จากการสอบสวนพบว่าจากที่มีการนำเอาสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จากผู้ที่มีชื่อเป็นกรรมการบริษัทโดยการชักจูงและให้เงินค่าตอบแทน มานั้น
โดยผู้ที่มีชื่อเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ ดังกล่าว ไม่มีส่วนรวมในการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลและมีการจัดทำขึ้นเพื่อให้ดูถึง ความสมเหตุผลในการจัดตั้งหน่วยนิติบุคคลขึ้นมาเพื่อขอคืนภาษี แล้วมา เปิดบัญชีในนามบริษัทแล้วนำเช็คคืนเงินค่าภาษีอากร
กรณีดังกล่าวจึงเป็นการฉ้อโกง ภาษีเงินได้ของรัฐโดยทุจริต เมื่อได้รับเงินคืนภาษีแล้วก็จะทำการโอนสนับไป-มา ระหว่างกลุ่มผู้ขายสินค้า และกลุ่มผู้ขอคืนภาษีหลายครั้ง รวมถึงการเบิกถอนเป็นเงินสดวันละหลายๆ ครั้งเป็นจำนวนมากเพื่อให้ยากแก่การตรวจสอบและติดตามเส้นทางทางการเงิน และพิสูจน์ทราบว่าสุดท้ายเงินคืนภาษีอากรจะตกแก่ผู้ใด
จะเห็นได้ว่า การขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มในครั้งนี้ มีการวางแผนตระเตรียมการและกระทำเป็นขบวนการ โดยมีกลุ่มบุคคลและนิติบุคคลที่ร่วมกันขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ นับแต่การจดทะเบียนนิติบุคคลโดยมีกรรมการและผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกัน การเช่าสถานที่ไว้เป็นที่ทำการแห่งเดียวกัน โดยนิติบุคคลส่วนหนึ่งเป็นผู้รับซื้อและจัดหาสินค้าประเภทเศษโลหะ แล้วขายให้แก่นิติบุคคลเดียวกันในกลุ่มเพื่อส่งออก โดยรับซื้อในราคาสูงกว่าราคาตลาดกว่า 60 เท่า เพื่ออำพรางว่าได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามราคาที่ซื้อแล้วจึงขอคืนภาษีมูลค่า เพิ่มภายหลังจากที่ส่งออกสินค้า เนื่องจากภาษีส่งออกเป็นศูนย์
จากนั้น นิติบุคคลดังกล่าวจะปิดกิจการและชำระบัญชี และมีการจดทะเบียนนิติบุคคลเพื่อดำเนินการในลักษณะเช่นเดียวกัน โดยมีบุคคลที่เกี่ยวข้องในกลุ่มเดียวกันนี้เวียนเข้าไปเป็นกรรมการหรือผู้ ถือหุ้น ของนิติบุคคลที่จดทะเบียนขึ้นใหม่ ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษจะดำเนินการตามกฎหมาย โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สำนักงาน ปปท. และสำนักงาน ปปง. เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และนโยบายของกระทรวงยุติธรรมในการเสริมสร้างความเป็นธรรมแก่สังคม โดยในเบื้องต้น ได้ออกหมายจับผู้กระทำความผิด 5 ราย คือ
1. นายวีรยุทธ แซ่หลก หรือ นายธนยุทธ ดลธนโกเศศ บัตรประจำตัวประชาชน เลขที่ 1-1015-00088-57-6 ในข้อหากระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษี มูลค่าเพิ่ม กระทำการใดๆโดยความเท็จโดยฉ้อโกง หรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดในทำนองเดียวกัน อันเป็นความผิดตามมาตรา 90/4(6) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 341 ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
2. นางสาวสายธาร แซ่หลก บัตรประจำตัวประชาชน เลขที่ 3-1021-02220-55 ในข้อหากระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษี มูลค่าเพิ่ม กระทำการใดๆโดยความเท็จ โดยฉ้อโกง หรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดในทำนองเดียวกัน อันเป็นความผิดตามมาตรา 90/4(6) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 341 ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
3. นายสุรเชษฐ์ มหารำลึก บัตรประจำตัวประชาชน เลขที่ 1-1004-00002-19-9 ในข้อหากระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษี มูลค่าเพิ่ม กระทำการใดๆโดยความเท็จ โดยฉ้อโกง หรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดในทำนองเดียวกัน อันเป็นความผิดตามมาตรา 90/4(6) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 341 ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
4. นายประสิทธิ์ อัญญโชติ บัตรประจำตัวประชาชน เลขที่ 3-1012-01192-03-3 ในข้อหากระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษี มูลค่าเพิ่ม กระทำการใดๆโดยความเท็จ โดยฉ้อโกง หรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดในทำนองเดียวกัน อันเป็นความผิดตามมาตรา 90/4(6) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 341 ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
5. นายกิตติศักดิ์ อัญญโชติ บัตรประจำตัวประชาชน เลขที่ 1-2699-00019-96-9 ในข้อหากระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษี มูลค่าเพิ่ม กระทำการใดๆโดยความเท็จ โดยฉ้อโกง หรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดในทำนองเดียวกัน อันเป็นความผิดตามมาตรา 90/4(6) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 341 ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน