สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

หอการค้าไทยยันค่าแรง300ไม่ช่วยเพิ่มจีดีพี ห่วงปี56ธุรกิจกระทบหนัก

หอการค้าไทยยันค่าแรง300ไม่ช่วยเพิ่มจีดีพี ห่วงปี56ธุรกิจกระทบหนัก

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

       หอการค้าไทยเผยขึ้นค่าแรง 300 บาท ไม่เพิ่มจีดีพีประเทศ เหตุแรงงานระมัดระวังการใช้จ่าย หลังไม่มั่นใจอนาคตจะถูกปลดหรือไม่ ห่วงปี 56 ขึ้น 300 ทั้งประเทศ ธุรกิจป่วนแน่ ไม่ย้ายฐาน ก็เพิ่มเครื่องจักรแทนใช้แรงคน แนะรัฐเพิ่มมาตรการช่วยเหลือด่วน ก่อนพังทั้งระบบ
       
        นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยถึงการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ หลังจากมีผลบังคับใช้ไปแล้วเกือบ 3 เดือน หรือตั้งแต่เดือนเม.ย.2555 ว่า การปรับเพิ่มขึ้นค่าแรงดังกล่าว ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นตามที่รัฐบาลกล่าวอ้าง เพราะผลการศึกษาของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นได้เพียง 0.5-0.7% เท่านั้น จากที่รัฐบาลคาดจะเพิ่มขึ้นได้ 1.0-1.4% เพราะแรงงานส่วนใหญ่ไม่ใช่จ่ายเพิ่มขึ้น แต่กลับเก็บออมเพิ่มขึ้นแทน เนื่องจากไม่มั่นใจอนาคตว่านายจ้างจะยังคงจ้างงานต่อหรือจะลดจำนวนคนงานหรือ ไม่ จึงทำให้ไม่เกิดการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจตามที่รัฐบาลหวังไว้ ส่วนอัตราเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้นเพียง 0.2-0.4% เพราะผู้ประกอบการไม่ได้ปรับขึ้นราคาสินค้า จากการรัฐบาลขอความร่วมมือตรึงราคาสินค้าจนถึงเดือนก.ย.2555
       
       ทั้งนี้ หอการค้าไทยได้ทำการสำรวจทัศนะของสมาชิกใน 7จังหวัดนำร่องที่ปรับขึ้นค่าแรง พบว่าสมาชิกส่วนใหญ่ 82.4% ยืนยันว่าได้รับผลกระทบ มีเพียง 17.6% ที่ไม่ได้รับผลกระทบ โดยผลกระทบที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการที่สูง ขึ้น ความสามารถในการแข่งขันลดลง ยอดจำหน่ายสินค้าลดลงจากการขึ้นราคาสินค้า และค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น แต่ประสิทธิภาพการทำงานเท่าเดิม
       
        ส่วนในเรื่องการปรับตัว ส่วนใหญ่ 92.2% ปรับตัวได้ มีเพียง 7.8% เท่านั้นที่ปรับตัวไม่ได้ โดยในการปรับตัว 13.25% มีการปรับลดคนงานลงด้วยการเลิกจ้างบางส่วน อีก 50% ไม่มีการปรับลดคนงาน และอีก 36.75% มีการปรับตัวด้านอื่นๆ เช่น ไม่รับแรงงานเพิ่ม ปรับปรุงการบริหารจัดการภายในบริษัท พยายามปรับตัวเพื่อให้สามารถดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลได้ ใช้เทคโนโลยีแทนพนักงาน และเพิ่มงานให้แรงงานทำงานมากขึ้น เป็นต้น
       
        “เอกชนที่ปรับตัวได้ เพราะค่าแรงใน 7 จังหวัดนำร่องเดิมสูงอยู่แล้ว เมื่อขึ้นมาเป็นวันละ300บาท จึงปรับตัวได้ไม่ยาก แต่ก็ถือว่าได้รับผลกระทบ หากรัฐบาลไม่ต้องการให้เอกชนมีขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง และนำไปสู่ปัญหาการปลดคนงาน ก็ต้องมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม เพราะมาตรการเดิมที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอ โดยรัฐบาลต้องใช้มาตรการทางด้านภาษีให้ครอบคลุมถึงSMEs และผู้ที่ไม่อยู่ในระบบ จ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นต้นทุนการผลิตให้แก่สถานประกอบการ เพิ่มผลิตภาพแรงงาน ช่วยเหลือให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนและลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพิ่มศักยภาพการผลิตของสถานประกอบการ และช่วยเหลือด้านการตลาด”นายภูมินทร์กล่าว
       
        นายภูมินทร์กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงต่อจากนี้ คือ ในปี 2556 จะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศ จะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมาก ธุรกิจในหลายจังหวัด ทั้งจังหวัดเล็กและจังหวัดใหญ่ จึงเริ่มพิจารณาถึงการย้ายฐานการผลิต เพื่อปรับตัว หรือลงทุนเครื่องจักรเพื่อลดจำนวนแรงงาน
       
        นายจักริน เชิดฉาย ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ในปี 2556 จะมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ จะทำให้ค่าแรงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 60% เพราะต่างจังหวัดค่าแรงยังต่ำกว่า 7 จังหวัดนำร่องมาก บางจังหวัดเพียงวันละ 150-160 บาท หอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงมีข้อเสนอดังนี้ 1.ให้รัฐบาลปรับขึ้นค่าแรงในส่วนที่เหลือโดยเฉลี่ยเท่ากัน 3 ปี จนถึงปี 2558 2.นำค่าใช้จ่ายการจัดอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานมาลดภาษีในอัตรา 2 เท่า 3.มีมาตรการช่วยเหลือ SMEs โดยจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ 4.มีมาตรการส่งเสริมการพัฒฯฝีมือแรงงาน 5. มาตรการส่งเสริมการผลิตโดยการยกเว้นภาษี หรือค่าทธรรมเนียมนำเข้าเครื่องจักร
       
        นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากการสำรวจสถานภาพธุรกิจไทยในปัจจุบันพบว่า หลังจากปรับขึ้นค่าแรงผู้ประกอบการ 47.2% ปรับตัวโดยการเพิ่มราคาสินค้า, 34.2% ลดสวัสดิการ, 32.1% ลดจำนวนแรงงาน, 8.5% ใช้เครื่องจักร และ 7.6% จ้างแรงงานต่างด้าว ขณะที่การเยียวยาจากภาครัฐ ผู้ประกอบการ 94.5% ยังไม่ได้รับ มีเพียง 5.5% ที่ได้รับการเยียวยา ส่วนมาตรการปรับลดภาษีนิติบุคคลผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ได้ประโยชน์ โดยเฉพาะ SMEs


เพิ่มค่าแรง300บ.ไม่ช่วยกระตุ้นศก.

จาก โพสต์ทูเดย์

หอการค้าเผยเพิ่มรายได้ 300 บาท ไม่ช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย แรงงานเก็บออมเงิน หวั่นสถานประกอบการอยู่ไม่ได้

นายภูมินทร์ หะรินสุด รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลจากการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ไม่ได้ส่งผลกระทบให้มีการใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากแรงงานไม่ได้ใช้จ่ายเงิน แต่เลือกที่จะเก็บออมมากกว่า เพราะแรงงานยังกังวลถึงความมั่นคงของงานที่ทำอยู่ กลัวว่าธุรกิจที่ทำอยู่จะประสบปัญหาอยู่ไม่ได้ต้องปิดกิจการ จึงไม่ได้นำรายได้ที่เพิ่มขึ้นมาจับจ่ายใช้สอย

“จากเดิมที่คาดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) จะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.1-1.4% ซึ่งเป็นผลจากการขึ้นค่าแรง ทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย แต่ในความเป็นจริงจีดีพีเพิ่มขึ้นเพียง 0.5-0.7% ขณะที่เงินเฟ้อจากเดิมคาดว่าจะเพิ่ม 0.8-1% แต่ความจริงเพิ่มเพียง 0.2-0.4% เพราะรัฐบาลได้ควบคุมราคาสินค้า” นายภูมินทร์ กล่าว

ทั้งนี้จากการติดตามของหอการค้าพบว่า สมาชิกใน 7 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม และนนทบุรี  ส่วนใหญ่ 92% ปรับตัวได้ มีเพียง 7.8% ที่ปรับตัวไม่ได้ โดยในการปรับตัว 13.25% ปรับตัวโดยการลดคนงานลงด้วยการเลิกจ้างบางส่วน อีก 50% ไม่มีการปรับปรับลดคนงาน และอีก 36.75% มีการปรับตัวด้านอื่นๆ เช่น ไม่รับแรงงานเพิ่ม ปรับปรุงการบริหารจัดการภายในบริษัท

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงต่อจากนี้ คือ ในปี 2556 จะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศ จะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมาก ธุรกิจในหลายจังหวัดทั้งจังหวัดเล็กและจังหวัดใหญ่ จึงเริ่มพิจารณาถึงการย้ายฐานการผลิต เพื่อปรับตัว หรือลงทุนเครื่องจักรเพื่อลดจำนวนแรงงาน

นายจักริน เชิดฉาย ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ในปี 2556 จะมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ จะทำให้ค่าแรงเพิ่มขึ้น 60% ทางหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงมีข้อเสนอดังนี้ 1. ให้รัฐบาลปรับขึ้นค่าแรงในส่วนที่เหลือโดยเฉลี่ยเท่ากัน 3 ปี จนถึงปี 2558 2.นำค่าใช้จ่ายการจัดอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานมาลดภาษีในอัตรา 2 เท่า 3.มีมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี โดยจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ 4.มีมาตรการส่งเสริมการพัฒฯฝีมือแรงงาน 5. มาตรการส่งเสริมการผลิตโดยการยกเว้นภาษี หรือค่าทธรรมเนียมนำเข้าเครื่องจักร

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ และธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากการสำรวจสถานภาพธุรกิจไทยในปัจจุบันพบว่า หลังจากปรับขึ้นค่าแรงผู้ประกอบการ 47.2% ปรับตัวโดยการเพิ่มราคาสินค้า 34.2% ลดสวัสดิการ 32.1% ลดจำนวนแรงงาน 8.5% ใช้เครื่องจักร และ 7.6% จ้างแรงงานต่างด้าว

ขณะที่การเยียวยาจากภาครัฐ ผู้ประกอบการ 94.5% ยังไม่ได้รับ มีเพียง 5.5% ที่ได้รับการเยียวยา ส่วนมาตรการปรับลดภาษีนิติบุคคลผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ได้ประโยชน์ โดยเฉพาะเอสเอ็มอี

สำหรับสถานการณ์ในภาพรวมต่อเศรษฐกิจไทย ปัญหาการเมืองแม้จะนิ่งแต่ยังคงสร้างความกังวลให้นักลงทุน  อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทอยู่ในระดับที่เหมาะสม เอื้อต่อการส่งออก อัตราดอกเบี้ยนิ่ง ราคาพลังงานเหมาะสมต่อระบบเศรษฐกิจ แต่โดยรวมแล้วเศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ เพราะผู้ประกอบการเจอปัญหาต้นทุนสูง แต่ขึ้นราคาสินค้าไม้ได้


สำนักงานบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : หอการค้าไทย ยันค่าแรง300 ไม่ช่วยเพิ่มจีดีพี ห่วงปี56 ธุรกิจกระทบหนัก

view