สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

พายุสุริยะ กับ น้ำท่วม จับสัญญาณอันตราย 2012-2015 คนไทยยังต้องเฝ้าระวัง 4 ปี

จาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

วิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ว่ากันว่าอาจมีบ้านเรือนเสียหายจากน้ำท่วมคราวนี้มากถึง 5 แสนหลัง แต่เหตุการณ์สงบได้ไม่ทันข้ามเดือน พื้นที่ภาคใต้ก็ถูกฝนถล่มจนน้ำท่วมอีก จนเกิดคำถามว่า... เกิดอะไรกับโลกของเรา !

ที่น่าเป็นห่วงคือนับวัน ภัยพิบัติ ธรรมชาติยิ่งรุนแรงและมีความถี่มากขึ้น หลายครั้งไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า มาก่อน ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจึงเริ่มมี นักวิชาการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับการเกิด "ภัยพิบัติธรรมชาติ" ที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด "พายุสุริยะ" ที่มีต้นตอจากดวงอาทิตย์

โดย เมื่อเร็ว ๆ นี้ การประปานครหลวง (กปน.) ได้เชิญ "ดร.ก้อง- ก้องภพ อยู่เย็น" วิศวกรหนุ่มชาวไทย วัย 34 ปี ขององค์การนาซา ดีกรีปริญญาเอกด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและเทคโนโลยี จากสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย ซึ่งเป็นหนึ่งในนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องนี้ มาบรรยายในหัวข้อ "ภัยพิบัติที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในปี 2012" เพื่อสะท้อนมุมมองที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน

อะไรคือ "พายุสุริยะ"

เนื้อหา การบรรยาย ดร.ก้องภพสื่อสารให้เห็นว่า ปรากฏการณ์ "พายุสุริยะ" ทำให้ดวงอาทิตย์ส่งพลังงานประจุไฟฟ้าออกมายังโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ซึ่งประจุไฟฟ้าที่ ส่งออกมาคือสิ่งที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของ "ภูมิอากาศ" และ "ระบบธรณีวิทยา" บนโลก

แล้วปรากฏการณ์พายุสุริยะเกิดขึ้นได้อย่างไร !

การ จะเกิดพายุสุริยะได้ต้องมี 3 องค์ประกอบ คือ 1) ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 2) เกิดปรากฏการณ์เรียงตัวกันเป็นระนาบในทางช้างเผือก และ 3) มีรังสีคอสมิก

ขณะ เดียวกัน เมื่อปี 2551 องค์การนาซาได้ตรวจพบ "รูรั่ว" ในสนามแม่เหล็กโลกที่มีขนาดใหญ่กว่าที่เคยคาดไว้ และยังพบชั้นบรรยากาศของโลกที่หดตัวลงมากเป็นประวัติการณ์ ซึ่งทั้ง 2 สิ่งนี้เปรียบเสมือนสิ่งที่เป็นเกราะป้องกันรังสีจากนอกโลกไว้

ประเด็นคือยิ่งปริมาณ "รังสีคอสมิก" เข้ามามากเท่าไหร่ จะเกิดความแปรปรวนของภูมิอากาศในโลก จะมีน้ำก่อตัวมากขึ้น

ที่ น่าเป็นห่วงคือเมื่อปี 1978 มีนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสท่านหนึ่งเคยคาดการณ์ล่วงหน้าว่า ในช่วงเร็ว ๆ นี้ระบบสุริยะที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง กำลังจะเคลื่อนตัวเข้าสู่กลุ่มก๊าซขนาดใหญ่ในอวกาศ ทำให้มี "รังสีคอสมิก" เข้ามาในระบบสุริยะมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศบนดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะ

สมมติฐานนี้ได้ถูกคอนเฟิร์มแล้ว เมื่อปี 2009 จากข้อมูลของดาวเทียม voyager 1 และ 2 ของนาซาที่โคจรอยู่บริเวณขอบของระบบสุริยะ

จึง ตั้งข้อสังเกตว่า หลายประเทศ ทั่วโลกที่กำลังมีความเคลื่อนไหว อาทิ พม่าย้ายเมืองหลวงไปที่เนปิเดา ห่างชาย ฝั่งทะเล 400 กิโลเมตร เนเธอร์แลนด์สร้างบ้านลอยน้ำ อเมริกากำลังสร้างเมืองลอยน้ำ นอรเวย์ย้ายฐานทัพทหารลงใต้ดิน รัสเซียกำลัง สร้างฐานทัพและหลุมหลบภัยใต้ดิน 5 พันแห่ง ฯลฯ จะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้หรือไม่ !

สัญญาณบอกเหตุ 1-3 วัน

ย้อน กลับมาดูผลศึกษาเหตุการณ์ในอดีต พบว่าเมื่อปี 1859 พายุสุริยะเคยเกิดขึ้นทำให้ระบบสายส่งโทรเลขขัดข้อง มีเจ้าหน้าที่ถูกไฟฟ้าชอร์ตเพราะพลังงานเหล่านี้ถูกส่งผ่านจากชั้นบรรยากาศ

ถัด มายุคปัจจุบัน เริ่มจากวิกฤตอุทกภัยในภาคกลางของประเทศไทยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ปรากฏว่าเมื่อ วันที่ 22 กันยายน 2554 ได้เกิดพายุสุริยะขึ้น เป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์มีการระเบิดอย่างรุนแรง โดยหน่วยงาน spaceweather.com ของสหรัฐทำนายว่า ในวันที่ 26 กันยายน จะเกิดประจุไฟฟ้ามาตกกระทบที่ขอบโลก ด้านนอก และตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน ปริมาณน้ำก็เพิ่มขึ้นมากและเกิดน้ำท่วมต่อมา และในวันเดียวกัน ที่ประเทศสเปนยังมีภูเขาไฟระเบิดอีกด้วย

ล่าสุดกับ "น้ำท่วมภาคใต้" ปรากฏว่าตรวจพบพายุสุริยะเมื่อ 26 ธันวาคม จากนั้น 28 ธันวาคม เกิดฝนตกหนัก และวันที่ 30-31 ธันวาคม น้ำก็ท่วม

ส่วนการเกิดคลื่น สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคมปีที่ผ่านมา ก็ตรวจพบดวงอาทิตย์มีการระเบิดอย่างรุนแรง ทำให้ "จุดดับ" บนดวงอาทิตย์เกิดการหดหรือขยายตัว จึงมีการตั้งข้อสังเกต หากจุดดับบนดวงอาทิตย์หดหรือขยายตัว จะสัมพันธ์กับการเกิด แผ่นดินไหวบนโลก

นั่นหมายความว่า ก่อนจะเกิดปรากฏการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติ จะมีพายุสุริยะหรือการระเบิดของดวงอาทิตย์เกิดขึ้นก่อน เฉลี่ย 1-3 วัน

เสี่ยงน้ำท่วมอีก 4 ปี

การ บรรยายในวันนั้นมีข้อสรุปแบบฟันธงว่า ระหว่างปี 2012-2015 ยังมีโอกาสที่ดวงอาทิตย์จะเกิดปฏิกิริยาพายุสุริยะได้ตลอด แต่ "ดร.ก้องภพ" ไม่ขอฟันธงว่า ภัยพิบัติธรรมชาติจะเกิดขึ้นในเมืองไทยหรือประเทศอื่น

แต่เชื่อว่าแนวโน้มสภาพอากาศ แปรปรวน ปัญหาน้ำท่วมยังคงมีอยู่ และมีโอกาสจะรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา

อย่าง ไรก็ตาม หลังจากปี 2015 ความถี่การเกิดพายุสุริยะจะลดลง จนกว่าจะผ่านไปอีก 11 ปี ที่วงรอบการเกิดพายุสุริยะถี่จะกลับมา ระหว่างนี้ คนไทยจึงไม่ควรประมาทกับภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น

"สำหรับประเทศ ไทย ปัญหาน้ำท่วม ผมอาจจะบอกไม่ได้ ว่าเกิดที่ไหน รุนแรงเท่าใด แต่ความเสี่ยงยังมีอยู่ ช่วงระหว่างปี 2012-2015 เมื่อคำนวณจากปรากฏการณ์พายุสุริยะ" คำทำนายทิ้งทวนของ "ดร.ก้อง"


สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี

Tags : พายุสุริยะ กับ น้ำท่วม จับสัญญาณอันตราย 2012-2015 คนไทย ยังต้องเฝ้าระวัง 4 ปี

view